Skip to content

ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ทำยังไงดี?

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มักมีสาเหตุมาจากสมองทำงานไม่เป็นปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการนอนไม่หลับนี้หากสะสมนานเข้าจะอันตรายมาก เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ร่างกายทรุดโทรม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และที่ร้ายแรงกว่านั้นคือส่งผลต่อด้านสุขภาพ จนเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่น ๆ ทางสมองได้อีกด้วย

การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มาจาก 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ

1. การเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น โดยปกติเมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น สมองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ส่งผลกับการนอนของผู้สูงอายุ คือ ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น (ตอนที่กำลังเคลิ้ม แต่ยังไม่หลับสนิท) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง มีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก อย่างไรก็ตามแม้ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจสมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรือคิดไปว่านอนไม่หลับ แต่มีข้อที่น่าสังเกต คือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะดูเหมือนว่านอนไม่หลับแต่ช่วงกลางวันมักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด

2. มีโรคซ่อนอยู่ ยาบางประเภทโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง ทำให้ผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ เช่น ใช้ยานอนหลับนานๆ ยารักษาอาการสั่น เคลื่อนไหวช้าในโรคพาร์กินสัน หรือบางครั้งอาจเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับโรคทางสมอง เช่น แอลกอฮอล์ในยาน้ำแก้ไอ หรือ คาเฟอีนที่ผสมอยู่ในยารักษาโรคหวัด เป็นต้น เมื่อผู้สูงอายุหยุดการใช้ยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง นอกจากนั้น ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน ก็จะมีผลต่อการนอนด้วย เช่น ผู้เป็นเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุชาย โรคไตวายเรื้อรัง หรือแม้แต่การใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจวาย ก็ทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย หรือผู้สูงอายุที่เริ่มมีสมองเสื่อมในระยะแรกก็มักจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุของการนอนยากในผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน

ข้อปฏิบัติที่ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับในผู้สูง

  • พยายามหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือจำกัดเวลาการนอนกลางวัน ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ โดยเฉพาะการทานในเวลาเย็น เป็นต้น
  • ไม่ควรดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเข้านอน ถ้ามีปัญหาปัสสาวะกลางคืนบ่อยๆ
  • เพิ่มกิจกรรม หรือการออกกำลังกาย ในช่วงเวลากลางวันให้มากขึ้น
  • ถ้าผู้สูงอายุไม่มีอาการง่วงนอนเมื่อถึงเวลาเข้านอน และไม่สามารถนอนหลับได้ ก็ควรลุกขึ้นมาหาอะไรทำ ดีกว่าที่จะนอนกลิ้งไปมาบนเตียง
  • กำหนดเวลาอาหารมื้อเย็นให้คงที่ สม่ำเสมอ และควรจะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง
  • เมื่อเทียบกับมื้ออื่นๆ
  • พยายามจัดสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้เงียบ และมืดพอสมควร ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป
  • ฝึกการทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ

หากลองทำตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุอื่นๆเพื่อทำการรักษาต่อไป

ที่มา: โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

ด้วยความปรารถนาดี

จินเจน
ดื่มน้ำขิง ดื่มจินเจน