นอนดึกมากระวังร่างกายจะพังเอานะ !!

นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราอายุสั้นลงด้วยนะ ดังนั้น ใครที่ชอบอดหลับอดนอนควรตั้งใจอ่านให้ดีเชียว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Pobpad.com

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

5ประโยชน์ของขิงที่ไม่เคยรู้มาก่อน

รู้หรือไม่ ⁉️
ขิงมีประโยชน์กับร่างกายเรามากๆ
อาการที่คุณมักเป็นบ่อยๆ อาจจะบรรเทาได้ด้วยขิงนะคะ
ลองไปดู 5 ประโยชน์จากขิง ที่คุณไม่รู้มาก่อน

สำหรับสาวๆ คนไหนที่กำลังลดความอ้วน ลองหันมาลองวิธีนี้กันดูค่ะ ขิงช่วยทำให้ความอยากอาหารลดลง จัดเป็นเคล็ดลับเลยค่า

สาวๆ คนไหนที่ต้องทุกข์กับอาการปวดท้องประจำเดือนในทุกๆเดือน การทานขิงกับน้ำร้อนจะสามารถแก้ปัญหาของคุณได้ค่ะ

นักวิจัยพบว่าขิงช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่ไม่ดี ซึ่งขิงสามารถช่วยให้คุณพ่อ คุณแม่ของเราห่างไกลโรคต่างๆ แค่กินน้ำขิง

ขิงมีสาร Gingerol จะไปทำหน้าที่ยับยั่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียประะเภทต่างๆ โดยเฉพาะแบคทีเรียในช่องปากซึ่งส่งผลกับการเกิดโรคเหงือกอัพเสบซึ่งทำให้เกิดกลิ่นปาก

สาวๆ คนไหน ตั้งครรภ์อยู่ สามารถดื่มน้ำขิงเพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องและคลื่นไส้ได้ นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ที่เกิดจากเคมีบำบัดของการรักษามะเร็งและลดการคลื่นไส้หลังผ่าตัดได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Pobpad.com

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

ไม่มี “มนุษย์ป้า” แล้ว!!…มีแต่ “มนุษย์ปัง” มาดูเคล็ด(ไม่)ลับของ “ป้าเจน” ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงตัวคุณกันค่ะ .

ไม่มี “มนุษย์ป้า” แล้ว!!…มีแต่ “มนุษย์ปัง”

มาดูเคล็ด(ไม่)ลับของ “ป้าเจน” ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงตัวคุณกันค่ะ

สุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวเรานะคะสาวๆ ^^

-ป้าเจน-

6วิธีลืมแฟนเก่า จะสาวๆหรือหนุ่มๆก็ใช้ได้ผลหมดนะ ป้าคอนเฟิร์ม!

6วิธีลืมแฟนเก่า

จะสาวๆหรือหนุ่มๆก็ใช้ได้ผลหมดนะ ป้าคอนเฟิร์ม! (ยิ้มมุมปากเบาๆ)

วิธีปฐมพยาบาล

หยุดยาวแบบนี้ออกไปเที่ยวกลางแจ้ง แดดเปรี้ยงๆ ก็อาจเสี่ยง #เป็นลมแดด ได้นะ!☀️

หากเจอสถานการณ์แบบนี้ ก่อนอื่นเลยเราต้องตั้งสติให้ดี!
จากนั่นทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งวันนี้ป้าเจนก็มีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากจ้าา
รับรองว่านำไปใช้ได้จริงไม่เลิ่กลั่กแน่นอน👍

—————————
👵🏻ป้าเจนขอให้ทุกคนเที่ยวอย่างปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่บาดเจ็บกันนะจ๊ะะ

1. นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่อากาศร้อน นำเข้าที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือห้องแอร์

2. ถ้าผู้ป่วยยังไม่หมดสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเย็น แต่ไม่ต้องให้ยาลดไข้แอสไพริน หรือพาราเซตามอล

3.พ่นละอองน้ำบนตัวผู้ป่วย และใช้พัดหรือพัดลมเป่า หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวผู้ป่วย

4.ถ้าผู้ป่วยหมดสติและอาเจียนให้จับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง เพื่อลดโอกาสการสำลัก

5.ถ้าผู้ป่วยชักเกร็งให้เอาสิ่งกีดขวางรอบตัวผู้ป่วย ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ออก

#ป้าเจน

ขอบคุณข้อมูลจาก (c) Kapook.com
———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

วันนี้ป้าเจนพามารู้จัก “ไขมันทรานส์” ผู้ก่อการร้าย ทำลายสุขภาพเรา!

วันนี้ป้าเจนพามารู้จัก “ไขมันทรานส์” ผู้ก่อการร้ายทำลายสุขภาพเรา! 😱😱😱

ไขมันทรานส์คืออะไร? มี 2 ประเภท

1. น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน มีผลเสียต่อสุขภาพ *กระทรวงสาธารณสุขห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

2. ไขมันทรานส์ที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นม ชีส โยเกิร์ต *ไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ

“ไขมันทรานส์” มีอยู่ในไหนบ้าง? 👉🏻

ไขมันทรานส์มีอยู่ในอาหารประเภท

👉🏻 ของมัน ของทอด

👉🏻 เบเกอรี่ต่างๆ

👉🏻 น้ำมันพืชบางชนิด

ทานสิ่งเหล่านี้เยอะๆ แล้วจะเป็นยังไง?

เสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ได้

ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจอุดตัน และโรคต่างๆ อีกมากมาย ><

รู้อย่างนี้แล้ว! มาหลักเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์กันนะจ้ะ 🤘🏻

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

อันตรายจากการพักผ่อนน้อย

ทำงานหนัก ส่องเฟส แชทดึก ติดซีรียส์ …รู้ไหมว่าอันตรายนะจ๊ะ!!!

อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพกันมากๆ เพราะอันตรายจากการพักผ่อนน้อย มันส่งผลกับร่างเราอย่างมากเลยนะ ไม่อยากร่างพังก่อนวัยอันควร จัดสรรเวลาพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวันด้วยนะจ๊ะ

#ป้าเจน

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

6เทคนิคการดูแลผิวในหน้าฝน

1.ล้างหน้าทันทีหลังตากฝนสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง เชื้อโรคมักจะมากับน้ำฝน โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวก็มักจะชอบอากาศชื้นๆ เพราะฉะนั้นถ้าต้องตากฝน ก็ต้องรีบล้างหน้าทันทีที่ถึงบ้านเลยนะคะ

2. ล้างหน้าด้วยคลีนซิ่ง

เวลาเราโดนฝนสิ่งสกปรกที่อุดตันจะทำให้เกิดสิวได้ง่าย จากเชื้อแบคทีเรียสะสมและน้ำมันส่วนเกิน การล้างด้วยน้ำเปล่าจึงไม่เพียงพอ คลีนซิ่งจึงช่วยทำความสะอาดได้หมดจดมากขึ้นค่ะ

3.ทาครีมกันแดดเป็นประจำ

บางวันที่ไม่มีแดดร้อนๆให้เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีรังสียูวีนะคะ และก็ยูวีนี่แหละเป็นตัวการทำร้ายผิว อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น เราจึงไม่ควรละเลยการทาครีมกันแดดนะคะ แต่หน้าฝนแบบนี้ก็เลือกกันแดดแบบกันน้ำจะได้ไม่หลุดเมื่อต้องเจอกับละอองฝนค่ะ

4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

เราควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้น้ำช่วยรักษาสมดุลในร่างกาย และเติมความชุ่มชื่นให้กับผิวนะคะ

5. เปลี่ยนปลอกหมอนบ่อยขึ้น

อย่าลืมว่าแบคทีเรียจะเติบโตได้ดีในอากาศชื้น เพราะฉะนั้นปลอกหมอนที่ต้องสัมผัสกับผิวหน้าเราทุกวัน จึงต้องสะอาดไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคค่ะ

6. สครับผิวอย่างน้อยสัปดาห์ละ1 ครั้ง

ข้อนี้สาวๆบางคนทำเป้นประจำอยู่แล้ว แต่บางคนที่ไม่ค่อยได้ทำ ช่วงหน้าฝนแบบนี้ที่สิ่งสกปรกที่มาพร้อมละอองฝนอาจจะมาอุดตันผิวของเราได้ง่ายขึ้นการสครับผิว หรือการมาส์กหน้าก็จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกเหล่านั้นได้อย่างสะอาดหมดจดมากขึ้นค่ะ

ชอบข้อไหนก็ทำข้อนั้น ไม่ก็…ทำมันทุกข้อเลยย อิอิ

#ป้าเจน

ขอบคุณข้อมูลจาก Watsons
———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ปัญหาทางด้านสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา บางคนอาจไม่ได้เจ็บป่วยอะไรร้ายแรงก็ยังใช้ชีวิตในลักษณะเดิมโดยไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายจากภัยของโรคที่ยังไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งรู้ในภายหลังก็อาจช้าเกินไป เพราะบางโรคอาจไม่แสดงอาการผิดปกติในช่วงแรก หรืออยู่ในระยะที่โรคสงบ


.
การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการช่วยหาต้นตอของโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ขณะเดียวกันก็ทำให้รู้ถึงสภาพร่างกายขณะนั้นว่าเป็นปกติดีหรือไม่ และช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพและไม่ไปเร่งการพัฒนาโรคให้เกิดขึ้น ในรายที่มีความเสี่ยงต่อโรคสูงเป็นทุนเดิมก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคให้หายขาดได้มากขึ้นหากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

ระดับคอเลสเตอรอล

ควรเริ่มมีการตรวจระดับคอเลสเตอรอลตั้งแต่อายุ 20 ปี ไปจนถึงอายุ 45 ปี และมีการตรวจซ้ำในคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติทุก 5 ปี แต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการกินและเรื่องน้ำหนัก ควรเข้ารับการตรวจตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรือตรวจเป็นระยะ


การฉีดวัคซีน

– ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดทุกปี

– ผู้ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ โรคไอกรน (Tdap) และควรมีการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี

– ผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 และไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella Vaccine) 2 เข็ม ซึ่งปกติจะได้รับการฉีดให้ตั้งแต่ในเด็ก

– ผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2499 ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) อย่างน้อย 1 เข็ม

– ผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-26 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) หรือตามคำแนะนำของแพทย์

– วัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคนั้น ๆ สูง แพทย์จะเป็นผู้ประเมินก่อนที่จะมีการฉีดให้ เช่น โรคปอดบวม

– ควรมีการฉีควัคซีนป้องกันโรคงูสวัด 1 ครั้ง หลังจากอายุ 60 ปี

– ในกรณีที่มีความเสี่ยงโรคตับ ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

การตรวจภายในและการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์

ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปี ควรมีการตรวจเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก หากผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ผลการตรวจออกมาเป็นปกติ ควรตรวจทุก 5 ปี แต่ในรายที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกหรือปีกมดลูกออกก็อาจไม่มีความจำเป็นในการตรวจ นอกจากนี้ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 25 ปี ควรเข้ารับการตรวจเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในแท้และหนองในเทียม

นอกจากนั้นผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ก็มีการแนะนำให้ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเริ่มมีการคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ด้วยวิธีการหาสารชี้บ่งมะเร็งต่อลูกหมาก (PSA) โดยเข้ารับการตรวจในช่วงอายุน้อย ๆ ก่อนช่วงอายุที่บุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งนะคะ
การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ในระยะแรก และยังช่วยให้ทราบถึงสภาพร่างกายในขณะนั้นว่าเป็นปกติดีหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดโรคใด ๆ ในอนาคต แม้ว่าผลการตรวจจะออกมาเป็นปกติ เพราะการตรวจสุขภาพเป็นเพียงการคัดกรองโรคเบื้องต้นในช่วงเวลาที่ตรวจเท่านั้น แต่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีการดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ชะล่าใจปล่อยปะละเลยหรือเพิ่มความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เอื้อต่อโรคให้ตนเอง

การตรวจมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20-40 ปี ควรมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม ควรได้รับการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม (Mammogram) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งก่อนช่วงอายุที่บุคคลในครอบครัวตรวจพบโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งในปัจจัยอื่น ๆ อาจเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์ (Breast Ultrasound) หรือ เอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) เพิ่มเติม ส่วนผู้หญิงทั่วไปควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ไปจนอายุ 70 ปี

การตรวจคัดกรองโรคปอด

ในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองโรคทางด้านปอดด้วยวิธีการเอกซเรย์ปอดเป็นหลัก เช่น วัณโรคปอด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose Computed Tomography: LDCT) สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 55-80 ปี มีประวัติการสูบบุหรี่มานานกว่า 30 ปี และยังคงสูบบุหรี่หรือเลิกสูบได้ไม่นาน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด

การตรวจทางด้านสายตา

ควรมีการตรวจสายตาทุก 2 ปี หรือตรวจถี่มากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อพบปัญหาในการมองเห็น เช่น อาการผิดปกติทางสายตา มีความเสี่ยงโรคต้อหิน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีการตรวจสายตาทุกปี

แต่ละบุคคลมีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพที่แตกต่างกัน เมื่อเข้ารับตรวจสุขภาพทุกครั้ง แพทย์จะมีการตรวจร่างกายทั่วไปก่อนเสมอ โดยดูน้ำหนัก ความสูง ประเมินภาวะอ้วนและผอม (BMI) ตรวจดูระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนการสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้ารับการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นอายุ ประวัติการป่วยของบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย อาหารการกิน

โรคเบาหวาน

ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ควรเข้ารับการตรวจโรคเบาหวานอย่างน้อยทุก 3 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีภาวะความดันโลหิตสูง (135/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป) มีภาวะอ้วน (วัดค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ได้สูง) ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจบ่อยขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น เคยเป็นโรคลำไส้อักเสบ ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคก่อนอายุ 50 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี ควรเข้ารับการตรวจโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกปีด้วยการตรวจอุจจาระ การตรวจด้วยวิธีการส่องกล้องทุก 5 ปี และตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมดทุก 10 ปี นอกจากนี้ในรายที่มีความเสี่ยงของโรคสูงอาจต้องได้รับการตรวจบ่อยขึ้น

การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจสอบความหนาแน่นของกระดูกด้วยเทคนิค DEXA โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น การสูบบุหรี่ การได้รับยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ดื่มแอลกอฮอล์หนัก มีการบาดเจ็บที่กระดูก หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน

ความดันโลหิต

ผู้ใหญ่ที่มีค่าความดันโลหิตปกติ (120/80 มิลลิเมตรปรอท) ควรมีการตรวจความดันโลหิตทุก 3-5 ปี สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้ที่วัดค่าความดันโลหิตค่าบน (Systolic) ได้ระหว่าง 120-139 มิลลิเมตรปรอท และความดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic) ได้ระหว่าง 80-89 มิลลิเมตรปรอท ควรมีการตรวจวัดความดันปีละ 1 ครั้ง แต่หากวัดความดันโลหิตค่าบนได้มากว่า 140 มิลลิเมตรปรอทและความดันโลหิตค่าล่างได้มากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอทควรตรวจให้บ่อยขึ้นตามคำแนะนำแพทย์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Pobpad.com

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย

เตือนโรคอันตรายในฤดูร้อน

เตือนโรคอันตรายในฤดูร้อน

ขอต้อนรับเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการจ้าาา…

อากาศร้อนแบบนี้มันเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคมากเลยนะคะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคในหน้าร้อน เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไข้ไทฟอยด์ โรคอหิวาตกโรค และโรคพิษสุนัขบ้า และสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมักมาจากน้ำดื่มและอาหารที่ไม่สะอาด และอาหารเสีย

เรามาดูกันดีกว่าว่าฤดูร้อนนี้ มีโรคที่เราต้องระมัดระวังกันบ้างนะคะ

โรคบิด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในอาหารเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นมูกปนเลือดบ่อยครั้ง และรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด

โรคอาหารเป็นพิษ จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้มากในช่วงหน้าร้อนสาเหตุสำคัญเกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟีโลคอกคัส และเชื้อบาซิลลัส ซึ่งมักเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบบ่อยในอาหารประเภทไส้กรอกกุนเชียง ข้าวผัดต่าง ๆ ถึงจะกินอาหารที่สุกร้อนแล้ว แต่หากส่วนผสมก่อนนำมาปรุงอาหารเกิดบูดเสียก่อน ก็จะเกิดอาการเป็นพิษได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หรือปวดเมื่อย อ่อนเพลีย จนถึงท้องร่วงจากสารพิษที่ทนความร้อน

โรคไข้ไทฟอยด์ หรือที่รู้จักกันว่า ไข้รากสาดน้อย เชื้อปนเปื้อนมาเหมือนกับโรคอื่น ๆ อาหารส่วนใหญ่ที่มักพบว่าทำให้เกิดโรค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม หอย ไข่ เนื้อสัตว์ น้ำ ผู้ป่วยโรคนี้ สัปดาห์แรกไข้มักไม่สูง อาจมีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการหนาวสั่นได้ ซึมลง และมีอาการเพ้อ

โรคอุจจาระร่วง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อหลายประเภททั้งแบคทีเรีย ไวรัส และกลุ่มเชื้อโปรโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่มีโอกาสบูดเสียได้ง่ายในอากาศที่ร้อนจัด และเมื่อรวมกับสุขอนามัยที่ไม่สะอาดแล้ว สามารถเกิดการเจ็บป่วยของโรคอุจจาระร่วงในหน้าร้อนนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน เชื้อแบคทีเรียบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง มีอาการขาดน้ำ สูญเสียเกลือแร่ หากอาการไม่รุนแรงก็สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้เองด้วยผงเกลือแร่ผสมน้ำดื่ม แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์

โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายโดยทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เชื้อจะสร้างพิษออกมาทำปฏิกิริยากับเยื้อบุผนังลำไส้เล็กทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคลมแดดเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ (thermoregulation) ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

โรคลมแดดไม่ได้เกิดขึ้นทันทีที่สัมผัสกับอากาศร้อน แต่เกิดขึ้นจากการอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานานหรือใช้กำลังกายในอุณหภูมิที่ร้อนสูง ซึ่งเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น อาจเริ่มมีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนแรงและคลื่นไส้ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น สับสน พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย หรือเห็นภาพหลอน หากรุนแรงมากอาจทำให้เกิดการชักเกร็งและมีอาการโคม่าได้ในที่สุด สังเกตได้ว่าเมื่อสัมผัสผู้ที่มีอาการจะพบตัวร้อนมากและมีผิวสีแดงกว่าปกติ (flushing)

ผู้ป่วยโรคลมแดดควรได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป้าหมายของการรักษาคือการลดอุณหภูมิภายในร่างกายของผู้ป่วย เช่น การใช้น้ำพรมตามร่างกายและใช้พัดลมเป่าให้น้ำระเหย หรือการใช้ถุงน้ำแข็งประคบตามรักแร้ คอ หลังและขาหนีบ

โรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง เช่น โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี โดยมีพาหะหลักจากสุนัข แมว ที่นำเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งอาจกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังคนมีแผล ที่สำคัญเชื้อไวรัสเรบี่ส์นี้ เมื่อปรากฏอาการของโรค จะเสียชีวิตทุกราย ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคนี้ ควรหลีกเลี่ยงการโดนสุนัขกัดหรือโดนทำร้าย

ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมควบคุมโรค

———————————————————

สามารถหาซื้อน้ำขิงจินเจนได้แล้วที่ www.gingen.com
#Gingen #จินเจน
#ขิงผงจินเจน #ดื่มน้ำขิงดื่มจินเจน
#ดื่มดีมีประโยชน์ #ปรุงอาหารก็อร่อย